การดูแลรักษาและปัญหาเครื่องชั่ง
การดูแลรักษาและปัญหาเครื่องชั่ง
การดูแลรักษาเครื่องชั่ง
การใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องชั่งอย่างถูกวิธี
จะทำให้ได้ผลการชั่งที่ถูกต้องและช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องชั่งได้ ควรดูแลทำความสะอาดตัวเครื่องชั่งและบริเวณโดยรอบเสมอ สำหรับการทำความสะอาดภายในเครื่อง การเคลื่อนย้าย การซ่อมแซม ต้องกระทำโดยช่างผู้ชำนาญหรือช่างจากบริษัทผู้ผลิตเท่านั้น
1. ปรับเครื่องชั่งให้อยู่ในแนวตั้งตรง โดยตรวจสอบระดับลูกน้ำ หากระดับลูกน้ำไม่อยู่ตรงกลางให้ปรับขาตั้งเครื่อง จากนั้นทำการปรับตั้ง (Calibration) ก่อนใช้งาน
2. การเปิดปิดเครื่อง หลังจากเสียบปลั๊กและเปิดสวิตซ์เครื่อง ควรอุ่นเครื่องก่อนการใช้งานไม่น้อยกว่า ๓๐ นาที หากมีการใช้งานเป็นประจำควรเสียบปลั๊กทิ้งไว้ตลอด เมื่อใช้งานเสร็จให้ปิดแต่สวิตซ์เครื่อง เมื่อเปิดใช้งานครั้งต่อไปก็ใช้งานได้ทันที ไม่ต้องอุ่นเครื่องอีก
3. กรณีเครื่องชั่งละเอียด ให้ทำการ Preload เพื่อกระตุ้นการใช้เครื่อง โดยวางสิ่งของที่จะชั่งบนจานชั่งแล้วยกออก ก่อนทำการชั่งจริง
4. ทำการปรับตั้ง (Calibration) เมื่อมีการติดตั้งเครื่องใหม่ ตำแหน่งลูกน้ำเปลี่ยนแปลง มีการปรับระดับของเครื่องชั่ง และเมื่ออุณหภูมิ ความชื้น ความดันบรรยากาศเปลี่ยนไป
5. ก่อนวางสิ่งของบนจานชั่ง เครื่องชั่งต้องแสดงค่าเป็นศูนย์ ถ้าไม่เป็นศูนย์ ให้กด Tare เพื่อปรับให้แสดงค่าศูนย์ และอ่านค่าได้ก็ต่อเมื่อเครื่องชั่งแสดงสัญญาณให้อ่าน
6. การวางน้ำหนักบนจานชั่ง ควรวางสิ่งของให้อยู่ตรงกลางจาน ไม่ควรใช้มือจับสิ่งของหรือภาชนะ
7. ไม่ชั่งน้ำหนักที่หนักเกินความสามารถของตัวเครื่อง (Weighing capacity)
8. การใช้เครื่องชั่งละเอียดควรมีกรอบบังลม เวลาใช้งานไม่ควรเปิดกรอบกว้างเกินจำเป็น
9. ระวังไม่ให้เครื่องชั่งถูกกระทบกระเทือนอย่างแรง
10. ดูแลความสะอาดของเครื่องชั่งและบริเวณที่ติดตั้งอยู่เสมอ
ปัญหาการใช้งานแท่นชั่งแบบตั้งพื้น
ทางเราได้รวบรวมลักษณะของปัญหาที่มักจะพบบ่อยๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่จำป็นอย่างมากที่ผู้ใช้งานเครื่องชั่งชนิดนี้ควรรู้ไว้ทั้งเพื่อที่จะได้ทำการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นและไม่ทำให้ภาคธุรกิจเสียหายจากการขาดเครื่องมือวัด
- เครื่องชั่งไม่อ่านน้ำหนัก : เกิดจากจอแสดงน้ำหนักไม่สามารถตรวจรับสัญญาณจากโหลดเซลได้ อาการหน้าจอจะขึ้น 0.00การตรวจสอบ: ควรเช็คสายสัญญาณก่อนว่าเชื่อมต่อที่จอแสดงน้หนักแล้วหรือเปล่า ตรวจเช็คการขาดของสายโหลดเซล หรือให้แกะขั้วสัญญาณของสายโหลดเซล แล้วเช็คดูว่าสายสัญญาณขาดออกจากจุดบัดกรีหรือไม่
- เครื่องชั่งน้ำหนักไม่ตรง : อาจเกิดจากสองสาเหตุคือการทำงานของภาควงจรผิดปกติ หรือแท่นชั่งไม่พร้อมใช้งานการตรวจสอบ: หากสาเหตุเป็นที่ภาคการทำงานของวงจรแนะนำให้ส่งศูนย์ซ่อมครับ แต่หากเกิดจากตัวแท่นเราสามารถแก้ไขได้ง่ายๆดังนี้- ตรวจสอบจุดค้ำยันหรือสต็อปเปอร์ของแท่นชั่งว่ามาค้ำโครงแท่นชั่งส่วนบนหรือไม่- ตรวจสอบใต้แท่นชั่งว่ามีสายสัญญาณหลุดไปยันโครงแท่นส่วนบนหรือไม่ หรือมีเศษวัสดุไปค้ำอยู่ใต้แท่นหรือไม่
- เครื่องชั่งน้ำหนักไม่นิ่ง : ตัวเลขจะขยับตลอดเวลา จนบางครั้งเป็นอาการน้ำหนักไหลขึ้น-ลง อาจเกิดจากได้สองสาเหตุคือการทำงานของภาคแปลงสัญญาณทำงานผิดปกติ หรือสายสัญญาณขาดการตรวจสอบ: หากสาเหตุเป็นที่การทำงานของภาควงจรแปลงสัญญาณแนะนำให้ส่งศูนย์ซ่อมครับ แต่หากเกิดจากสายสัญญาณ ให้ทำการตรจหาจุดพับของสาย หรือสังเกตุรอยโดนกดทับของสายสัญญาณโหลดเซล เมื่อหาเจอให้ทดลองตัดสายบริเวณนั้นและเชื่อมต่อเข้าใหม่ แต่ทั้งนี้ก็ควรจะมีตุ้มน้ำหนักมาตรฐานไว้สอบเทียบน้ำหนักหลังจากที่ได้แก้ไขดัดแปลงด้วย และที่สำคัญถ้าเป็นการชั่งซื้อขายแล้วละก็ให้ทำการตรวจรับรองใหม่ครับ
- เครื่องชั่งไม่อ่านน้ำหนัก : อาการหน้าจอขึ้น OL หรือerror massage หน้าจอค้างอยู่ตลอดเวลา
- การตรวจสอบ: ตรวจเช็คสายสัญญาณของโหลดเซลล์เข้าจอแสดงน้ำหนักว่าหลุดหรือขาดหรือไม่ ลองตรวจสอบแหล่งจ่ายไฟ หากใช้แบตเตอรี่ให้เปลี่ยนเป็นใช้อะแด็ปเตอร์แทน ทำการเปิดปิดเครื่องใหม่อีกครั้งหากอาการยังเหมือนเดิมแสดงว่าเครื่องมีปัญหาที่วงจรภาครับสัญญาณ ADC ให้แจ้งศูนย์ซ่อม
- เครื่องชั่งแสดงตัวเลขไม่ครบ : อาการหน้าแสดงค่าไม่เป็นตัวเลขปกติ ขาดบางหลัก ทำให้แสดงค่าน้ำหนักผิด
- การตรวจสอบ : จอแสดงน้ำหนักจะมี3แบบหลักๆ คือจอแบบ 7-Segment แบบ LCD แบบ LEDเป็นไปได้ว่าหลักบางหลักหรือบางหลอด เสียหรือจุดบัคกรีหลวม (ให้เปลี่ยนหรือย้ำบัคกรีใหม่)แต่ถ้าเป็นจอแบบ LCD หากย้ำบัคกรีแล้วไม่หายต้องเปลี่ยนทำการเปลี่ยนทั้งจอ
05 มีนาคม 2564
ผู้ชม 4690 ครั้ง